ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทที่3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

บทที่ 3 การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

สรุปเนื้อหา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแก้ปัญหาทางธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ

             แนวคิดเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหา (System Approach to problem solving)
สมมุติว่าคุณเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและผู้บริหารระดับสูงให้คุณหาวิธีที่จะได้ข้อมูลจากพนักงานขายคุณจะทำอย่างไรและจะทำอะไรคุณคิดใหม่ว่าอาจจะมีวิธีที่เป็นระบบที่จะช่วยพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีเพื่อตอบคำถามนี้นี่คือกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เรียกว่าแนวคิดเชิงระบบ (System Approach)

            แนวคิดเชิงระบบ (System Approach)
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการทำงานของกลุ่มเป้าหมายออนไลน์ช่วยในการพัฒนาสินค้าช่วยสนับสนุนด้านลูกค้าหรืองานอื่นๆระบบสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพิ่มบทบาทในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการทำงานของกลุ่มเป้าหมายออนไลน์ช่วยในการพัฒนาสินค้าช่วยสนับสนุนด้านลูกค้าหรืองานอื่นๆระบบสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันและเพิ่มบทบาทในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ ธุรกิจทุกประเภทปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในขั้นตอนการทำงานของธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นเทคโนโลยีสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตและระบบสารสนเทศจะกลายเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จพระเจ้าสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

 

           กำหนดปัญหาและแนวทางการแก้ไข (Defining Problems and Opportunities)
ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ถูกกำหนดให้เป็นขั้นตอนแรกของแนวคิดเชิงระบบ ปัญหา สามารถให้คำจำกัดความได้ว่าเป็นภาวะพื้นฐานที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ แนวทางแก้ไข คือ ภาวะพื้นฐานที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ สัญญาณบอกเหตุจะต้องแยกออกจากคำว่าปัญหา โดยสัญญาณบอกเหตุ (Symptoms) หมายถึง ปัญหาสำคัญที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงแต่มีแนวโน้มว่าจะเกิด

          การคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking)
การคิดอย่างเป็นระบบ ทำให้เข้าใจปัญหาและโอกาสในการแก้ไขที่ดีที่ส ุ ด ปีเตอร์ เซนก์ นักเขียนและที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ เรียกการคิดอย่างเป็นระบบว่าเป็น กฎข้อที่ 5 (T he Fifth Discipline) เซนก์กล่าวว่า การจัดการคิดอย่างเป็นระบบไปพร้อมกับกฎข้ออื่นๆ ได้แก่ การควบคุมตนเอง ( Personel Mastery) การไม่อคติและไม่ท้อแท้ (Mental Models) การแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกัน (S hared Vision) การเรียนรู้เป็นทีมงาน (Term Learning) เป็นสิ่งที่จะช่วยเติมเต็มความสามารถของบุคคลและความสำเร็จในธุรกิจของโลกที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเปรียบเทียบกับสำนวนที่ว่า การมองป่าคือการมองเห็นต้นไม้ทุกๆ ต้นในป่า โดย

•  เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา ให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างระบบ

•  เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ให้มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงระหว่างระบบ

การพัฒนาทางเลือกในการแก้ปัญหาอื่นๆ (Developing Alternative Solutins)
มีแนวทางในการแก้ปัญหาหลายวิธี อย่าใช้วิธีการแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียวหลังจากที่กำหนดปัญหาอย่างเร่งรีบ เพราะมันจะจำกัดทางเลือกของคุณและขโมยโอกาสในการวิเคราะห์ข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของทางเลือกอื่นๆ และคุณยังเสียโอกาสในการรวบรวมข้อดีของแต่ละแนวทางอีกด้วย

แหล่งข้อมูลที่ดีของทางเลือกอื่นๆ จะได้จาก ประสบการณ์ หรือแนวทางที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วในอดีต อีกแหล่งข้อมูลหนึ่งก็คือ คำแนะนำจากคนอื่นๆ รวมทั้งคำแนะนำจากที่ปรึกษาและจากระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) คุณควรใช้ทักษะในการแสวงหาวิธีการใหม่ๆร่วมกับแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยพิจารณาถึงข้อจำกัดทางด้าน การเงิน บุคลากร และทรัพยากรของบริษัท อันจะทำให้มองเห็นทางเลือกที่จะทำให้เป็นจริงได้

ประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอื่น (Evaluating Alternative Solutions)
เมื่อทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้ถูกพัฒนาขึ้น ให้ประเมินหาข้อสรุปหาวิธีทางในการแก้ไขปัญหาใดที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจและความต้องการของบุคลากรมากที่สุด ความต้องการ (Requirement) เหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่จำเป็นต่อความสำเร็จทั้งด้านบุคลากรและธุรกิจ

การเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด (Select the Best Solution)
เมื่อประเมินแนวทางในการแก้ไขปัญหา คุณสามารถเริ่มกระบวนการคัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมที่สุด โดยสามารถประเมินเปรียบเทียบจากหลักเกณฑ์เดียวกัน

การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริง (Design and Implementing a Solution)
เมื่อเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหาแล้ว จะต้องมีการออกแบบและนำไปประยุกต์ใช้จริง โดยอาศัยผู้ใช้ เจ้าหน้าที่เทคนิค เพื่อช่วยในการออกแบบรายละเอียดและการนำไปใช้ โดยปกติการออกแบบรายละเอียด (Design Specifications) จะกำหนดรายละเอียดในด้านต่างๆ ทั้งประสิทธิภาพของบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แหล่งข้อมูล และงานที่จะต้องทำเมื่อมีการใช้ระบบใหม่ แผนการนำไปประยุกต์ใช้ (Implementation Plan) ที่กำหนดแหล่งข้อมูล กิจกรรม และระยะเวลาสำหรับขั้นตอนการนำไปใช้ที่เหมาะสม ดังนั้นการออกแบบรายละเอียดและแผนการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับระบบการส่งเสริมการขายด้วยคอมพิวเตอร์ ควรประกอบด้วย

•  ประเภทและแหล่งของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่ต้องจัดหาสำหรับพนักงานขาย

•  ขั้นตอนในการสนับสนุนระบบการขายใหม่

•  การฝึกอบรมพนักงานขายและพนักงานอื่นๆ

•  การปรับระบบเดิมเข้าสู่ระบบใหม่ และกำหนดตารางเวลาในการนำไปใช้จริง

การประเมินหลังการนำไปใช้ (Postimplementation Review)
ขั้นตอนสุดท้ายของแนวคิดเชิงระบบ คือ การตระหนักว่าแนวทางแก้ปัญหาที่นำไปใช้อาจล้มเหลวได้ ในโลกแห่งความเป็นจริงอาจมีสิ่งที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้แม้ว่าวิธีการนั้นจะถูกออกแบบเป็นอย่างดีก็ตาม ดังนั้น ผลที่ได้จากการนำวิธีการแก้ปัญหาไปประยุกต์ใช้ควรถูกจับตามองและประเมิน เรียกขั้นตอนนี้ว่า กระบวนการทบทวนหลังการนำไปใช้ เป้าหมายคือการหาข้อสรุปของการนำไปใช้จริงที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หากไม่ใช่ แนวคิดเชิงระบบจะให้ย้อนกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้านี้และพยายามหาหนทางให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่อไป

การใช้แนวคิดเชิงระบบ (Using the Systems Approach)
ลองนำแนวคิดเชิงระบบมาประยุกต์สู่แนวทางแก้ไขปัญหากับบริษัทที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ในโลกธุรกิจ อ่านกรณีศึกษาและร่วมกันวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดเชิงระบบแก้ไขปัญหาในแต่ละขั้นตอน

การกำหนดปัญหา (Defining the Problem)
มีสัญญาณบอกเหตุถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับ Auto Shack ในอนาคต คือ

•  สัญญาณบอกเหตุด้านผลปฏิบัติการด้านการขาย การขยายตัวด้านการขายลดลงกว่าปีที่แล้วและในอัตราที่ต่ำกว่าคู่แข่ง ผลปฏิบัติการด้านการขายไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ต้องการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้มากขึ้น ผลการขายในปัจจุบันไม่เท่ากับที่ได้ประมาณการณ์ไว้

•  สัญญาณบอกเหตุด้านการทำงานของพนักงาน พนักงานขายใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเขียนใบสั่งซื้อสินค้า จึงไม่มีเวลาให้บริการที่เพียงพอ ลูกค้าไม่ได้รับบริการที่ดี

•  สัญญาณบอกเหตุด้านการจัดการ บริษัทและผู้จัดการใช้เวลามากไปกับการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ไม่เพียงพอ จึงไม่มีเวลาในการวางแผนการตลาด

ความชัดเจนของปัญหา (Statement of the Problem)
ผู้จัดการ พนักงานขาย และลูกค้าได้รับสารสนเทศด้านสินค้าและบริการไม่ดีเท่าที่ควร ผลปฏิบัติงานด้านการขายในหน่วยงานเกิดความเสียหายจากกระบวนการขายที่ลดลง ซึ่งจำกัดความสามารถในการขายของพนักงานขายและสร้างความเสียหายในงานบริการแก่ลูกค้า ด้านผู้จัดการเองก็ไม่ได้รับข้อมูลด้านผลปฏิบัติงานด้านการขายในรูปแบบที่ต้องการ พวกเขาจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพยายามหาข้อมูล ทำให้ลดเวลาในด้านบริหาร ด้วยเหตุนี้ คุณภาพของการตัดสินใจด้านการตลาดและผลงานด้านการขายของบริษัทจึงยังคงมีปัญหาอยู่เช่นเดิม

หลักการสำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาที่เลือก (Rationale for the Select Solutions)
Auto Shack Store ควรพัฒนาระบบสารสนเทศการขายแบบ POS ซึ่งจะทำให้กระบวนการขายของพนักงานสะดวกรวดเร็วขึ้นและช่วยผู้จัดการให้ได้รับข้อมูลที่ตรงกับความต้องการได้ทันท่วงที พนักงานขายจะได้มีเวลามากขึ้นในการขายและให้บริการลูกค้า ผู้จัดการจะได้มีเวลามากขึ้นสำหรับภาระงานด้านบริหารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้คุ้มค่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับ

แนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Developing IS Solution)
ในทุกวันนี้การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจด้วยการพัฒนาระบบข้อมูล เป็นความรับผิดชอบของนักธุรกิจมืออาชีพ และในฐานะผู้ใช้ คุณสามารถรับผิดชอบสำหรับการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบสารสนเทศเดิมสำหรับบริษัทของคุณเอง ซึ่งจะกำหนดแนวคิดในการแก้ปัญหาและแสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาด้วยระบบสารสนเทศได้ช่วยให้ผู้ใช้และองค์กรได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร

          วงจรการพัฒนาระบบ (Systems Development Cycle)
เมื่อแนวคิดเชิงระบบเพื่อการแก้ปัญหาได้ถูกประยุกต์สู่การพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาด้านธุรกิจด้วยระบบสารสนเทศ จะเรียกขั้นตอนนี้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศ ( Information Systems Development) หรือ การพัฒนาระบบงาน (Application Development) ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (Computer-based Information Sysetms) ได้รับการกำหนดแนวทางในการออกแบบและนำไปใช้โดยกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ( Systematic) ในกระบวนการนี้ ผู้ใช้และผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศจะออกแบบระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศขององค์กร ที่รู้จักกันในชื่อ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analysis and Design)

           การเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบ (Starting the Systems Development Process)
การดำเนินธุรกิจมีปัญหา ( หรือมีโอกาส ) ไหม อะไรเป็นต้นเหตุของปัญหานั้น การสร้างหรือปรับปรุงระบบจะช่วยแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ อะไรที่ระบบสารสนเทศจะช่วยแก้ไขปัญหา ได้บ้าง นี่เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบในขั้นตอนการสำรวจระบบที่ต้องการ (Systems Investigation Stage) อันเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพัฒนาระบบ เกี่ยวข้องกับการสร้างแผนการทำงานโดยกระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศ รวมทั้งการศึกษาแผนการแก้ไขปัญหาด้วยระบบสารสนเทศ

          การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Studies)
เนื่องจากกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีค่าใช้จ่ายในขั้นตอนการสำรวจระบบในการศึกษาขั้นต้นหรือที่เรียกว่า การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาขั้นต้นเพื่อสืบค้นหาความต้องการของสารสนเทศในมุมมองของผู้ใช้และหาข้อสรุปของแหล่งข้อมูลที่ต้องการ ราคา ผลประโยชน์ที่จะได้รับ และความเป็นไปได้ของโครงการ

        การวิเคราะห์ระบบ คืออะไร
        เมื่อใดก็ตามที่คุณต้องการพัฒนาระบบงาน(Application) ใหม่อย่างรวดเร็วหรือเกี่ยวข้องกับโครงการระยะยาว (Long-term Project) คุณจะต้องจัดทำกิจกรรมเบื้องต้นของการวิเคราะห์ระบบ ที่ขยายผลมาจากการศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ระบบมิใช่การศึกษาเบื้องต้น แต่เป็นการศึกษาอย่างลึกซึ้งของความต้องการสารสนเทศในการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อให้ได้รูปแบบความต้องการในการใช้งานขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะใช้เป็นฐานของการออกแบบระบบสารสนเทศใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในรายละเอียดดังนี้

ความต้องการสารสนเทศของหน่วยงานและผู้ใช้เช่นตัวคุณ
กิจกรรม แหล่งทรัพยากร และผลผลิตของระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศนั้นต้องให้ตรงกับความต้องการของคุณและผู้ใช้คนอื่นๆ
การวิเคราะห์องค์กร (Organizational Analysis)
การวิเคราะห์องค์กร เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการวิเคราะห์ระบบ จะปรับปรุงระบบสารสนเทศได้อย่างไรหากไม่รู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมในองค์กรที่จะทำการวิเคราะห์ระบบ นี่เป็นเหตุที่ว่าทำไมทีมพัฒนาระบบจึงต้องรู้ในเรื่องเกี่ยวกับองค์กร โครงสร้างในการจัดการ บุคลากร กิจกรรมทางธุรกิจ สิ่งแวดล้อมของระบบ ระบบสารสนเทศปัจจุบัน เจ้าหน้าที่บางคนในทีมจะต้องรู้ถึงรายระเอียดของหน่วยธุรกิจที่เฉพาะเจาะจงลงไป หรือกลุ่มผู้ใช้ที่จะได้รับผลกระทบจากการปรับปรุงหรือจัดทำระบบใหม่ตามที่ได้วางแผนไว้

การวิเคราะห์ความต้องการในการใช้งาน (Functional Requirements Analysis)
ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบนั้นเป็นส่วนที่ยากที่สุด คุณอาจต้องทำงานเป็นทีมกับนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้อื่นๆ เพื่อหาข้อสรุปในความต้องการสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจงลงไปนั้นคืออะไร เช่น ประเภทของสารสนเทศของงานที่คุณต้องการนั้น อยู่ในรูปแบบใด จำนวนเท่าไร ความถี่ที่ต้องจัดทำ และต้องการภายในระยะเวลาเท่าไร ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็น ประการที่สอง คุณจะต้องหาประสิทธิภาพของกระบวนการสารสนเทศในการปฏิบัติการในแต่ละระบบ ( การนำเข้า การประมวลผล ผลลัพธ์ การ จ ัดเก็บ การควบคุม ) นั้นตรงกับที่ต้องการหรือไม่ เป้าหมายหลักของคุณก็คือ กำหนดให้ได้ว่า อะไรที่จะต้องทำ (What you should be done) ไม่ใช่จะทำอย่างไร (Not how to do it)

       การออกแบบระบบ (Systems Design)
การวิเคราะห์ระบบ แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ระบบควรทำ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ส่วนการออกแบบระบบ จะกำหนดว่าระบบจะทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ การออกแบบระบบประกอบด้วยกิจกรรมในการออกแบบ ซึ่งกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการของการใช้งานที่ต้องการตามขั้นตอนในการวิเคราะห์ระบบ

 

                            



       คำถามกรณีศึกษา

1. การใช้แนวคิดเชิงระบบ ได้ช่วยให้บริษัทแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างไร

    ตอบ   คามิลอทได้เผชิญหน้ากับปัญหาทางธุรกิจ จากการตัดราคาในการขายซีดี-รอมของบริษัท Best Buy และ Circuit City อย่างรุนแรง เขาได้จัดการกับปัญหานี้ด้วยการใช้กลยุทธ์การตั้งราคาขายที่ไม่ตายตัว จะตั้งราคาตามสถานการณ์การแข่งขันแต่ละสาขาและความถี่ในการซื้อของลูกค้าแต่ละราย กลยุทธ์นี้จะเป็นไปได้ยากหากปราศจากซอฟต์แวร์ที่ชื่อ RAMS ซึ่งช่วยในการตั้งราคาสินค้าที่ไม่ตายตัว เพื่อการบริการตลาดเชิงลูกค้าสัมพันธ์ที่ชื่อ Corema และซอฟต์แวร์อื่นๆ คามิลอทคาดว่าจะได้ผลกำไรคุ้มค่ากับการลงทุน

2. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับแนวทางที่บริษัทใช้ในการแก้ปัญหา ทำไมจึงเห็นด้วยหรือทำไมจึงไม่เห็นด้วย
    ตอบ  เห็นด้วย เพราะ ยอดขายของบริษัทลดลง บริษัทจึงต้องมี

การปรับเปลี่ยนราคาที่ดีกว่าคู่แข่งขันเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้

3. อะไรอีกที่คุณอยากแนะนำให้คามิลอททำเพื่อปรับปรุงสถานการณ์ทางธุรกิจของบริษัท แล้วจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยได้อย่างไร
    ตอบ  ไม่มีคำแนะนำ

4. อะไรคือขั้นตอนแนวคิดเชิงระบบในการพัฒนากระบวนการจัดทำเว็บไซท์ของบริษัท Millipore
    ตอบ  บริษัทใช้เวลาไม่กี่เดือนในการจัดทำระบบการสั่งซื้อบนเว็บไซท์ โดยเชื่อมระหว่าง Web Server กับฐานข้อมูล Oracle ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่า สินค้าที่สั่งซื้อนั้นได้จัดส่งแล้ว หรือกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงานในการขนส่ง

5. ทำไมการสำรวจลูกค้าบนเว็บแบบออนไลน์ จึงไม่สามารถวัดความต้องการของลูกค้าเท่าที่ควร
   ตอบ  เราสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าที่เข้ามาใช้ โดยเหมือนกับการมองข้ามไหล่ของใช้และมองดูที่จอภาพ เราไม่สามารถเห็นได้ว่าเขายิ้มหรือรู้สึกอย่างไร เพียงแต่เรารู้แค่ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่

6. คุณเห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาของ Millipore เพื่อพัฒนาเว็บไซท์สำหรับลูกค้า ทำไมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
     ตอบ  เห็นด้วย การสร้างหน้าเว็บที่มีหมายเลขรหัสสินค้าโดยไม่ต้องให้มีช่องว่าง ( ระหว่างตัวเลขแต่ละชุด ) ก็เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้ได้





แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3💭💭💭

1.) นักศึกษาสามารถใช้แนวคิดเชิงระบบในการแก้ไขปัญหา เช่นเดี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางด้าน การตลาด ทางด้านการเงิน ทางด้านทรัพยากรมนุษย์หรือไม่ จงอธิบาย

ตอบ   ใช้ เพราะแนวคิดเชิงระบบในการใช้แก้ปัญหานั้น เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปแก้ปัญหาได้ทุกทางของปัญหา และเป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการจัดลำดับความคิดมากขึ้น

2.) ทำไมนักศึกษาจึงคิดว่า การจัดทำต้นแบบ ( Prototyping ) จึงกลายมาเป็นที่นิยมในการพัฒนาระบบใหม่ทางธุรกิจที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นพื้นฐาน

ตอบ  เป็นการพัฒนาการที่รวดเร็วและเป็นการทดสอบการทำงานของแบบจำลอง ต้นแบบของระบบใหม่ ในการตอบและกระบวนการทำซ้ำประโยคคำสั่งในโปรแกรมที่เรียกว่า การวนรอบ การทำต้นแบบสามารถทำให้เข้าใจง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ความต้องการของผู้ใช้นั้นยากแก่การเข้าใจอย่างชัดเจน

3.) ให้นักศึกษาอธิบายว่า ปัจจุบันมีการนำการจัดทำต้นแบบเข้ามาแทนที่ หรือมาเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศ

ตอบ การสร้างต้นแบบสามารถใช้ได้ทั้งกับระบบงานขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ระบบงานขนาดใหญ่มีความต้องการในการใช้การพัฒนาจากระบบแบบเดิม ต้นแบบของระบบงานด้านธุรกิจที่เกิดความต้องการจากผู้ใช้นั้นจะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำซ้ำหรือปรับแต่งในส่วนของรายละเอียดจนผู้ใช้ให้การยอมรับ การทำต้นแบบขึ้นอยู่กับกระบวนการพัฒนาระบบสำหรับการใช้งานด้านธุรกิจ



4.) จงออกแบบแนวคิดเชิงระบบ จากกรณีศึกษาต่อไปนี้ เพื่อนำระบบสารสนเทศมาใช้แก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นของธุรกิจขายประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ที่มีงบทุน 3,000,000 บาท และมีรายได้เฉลี่ยปีละ 300,000 บาท แต่ในปัจจุบันยอดขายลดลง เนื่องจากตัวแทนประกันไม่สามารถให้ข้อมูลการประกันชีวิตได้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เพราะมีเอกสารเกี่ยวกับการประกันชีวิตหลายรูปแบบและวิธีการคำนวณเบี้ยประกันที่ซับซ้อน จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการให้ข้อมูลและทำให้สูญเสียลูกค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งฝ่ายสารสนเทศของบริษัทได้พัฒนาทางเลือกไว้ 2 ทางเพื่อการนำเสนอต่อผู้บริหาร คือ

ทางเลือกที่ 1  ให้ตัวแทนประกันใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุคและติดตั้งระบบจัดการข้อมูลการประกันชีวิต ซึ่งจะสามารถช่วยในการคำนวณและให้รายละเอียดที่ลูกค้าต้องการได้ทันที และสามารถส่งข้อมูลการทำประกันเข้าระบบอินทราเน็ตของบริษัทได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 100,000 บาทต่อปี และมีความถูกต้องของข้อมูลในระดับ ดีเยี่ยม ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด และมีความสะดวกต่อการใช้งานอยู่ในระดับดี มีความเชื่อถืออยู่ในระดับดีเยี่ยม

ทางเลือกที่ 2 ให้แฟ้มเอกสารที่บันทึกข้อมูลการประกันชีวิตอย่างละเอียดทั้งหมดกับตัวแทนพร้อมทั้งแบบฟอร์มการขอประกันที่สามารถส่งเป็นจดหมายจากที่ทำการไปรษณีย์ถึงบริษัทได้ทันทีที่ลูกค้าตอบรับ และนำแบบฟอร์มการขอเอาประกันดังกล่าวมาบันทึกข้อมูลที่ระบบจัดการข้อมูลการประกันชีวิตที่ติดตั้งบันเครื่องพีซีของบริษัท ทางเลือกนี้ มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 200,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 300,000 บาทต่อปี และมีความถูกต้องของข้อมูลและความสะดวกต่อการใช้งานในระดับพอใช้ มีความเชื่อถือในระดับดีเยี่ยม
ตอบ หลักเกณฑ์ น้ำหนัก ทางเลือกที่ 1 คะแนน ทางเลือกที่ 2 คะแนน
           ค่าใช้จ่ายเริ่มต้น 20 1,000,000 บาท 12 200,000 บาท 20
           ค่าใช้จ่ายในการเดินเนินงาน 30 100,000 บาท 25 300,000 บาท 18
           สะดวกต่อการใช้งาน 20 ดี 16 พอใช้ 12
           ความถูกต้อง 20 ดีเยี่ยม 20 พอใช้ 8
           ความน่าเชื่อถือ 10 ดีเยี่ยม 10 ดีเยี่ยม 10
                           รวม 100 83 68
เลือกทางเลือกที่ 1 เพราะว่าง่ายต่อการใช้งานดี มีความถูกต้องดีเยี่ยม และความถูกต้องดีเยี่ยม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีถึงค่าใช้จ่ายเริ่มต้นจะสูงก็ตามแต่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อปีน้อยกว่าทางเลือกที่ 

5.)มีซอฟต์แวร์ประยุกต์อะไรบ้าง ที่ผู้ใช้สามารถนำมาประยุกต์ใช้บนอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต เว็บไซต์
ตอบ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้จะเน้นในการใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะ
      - ซอฟต์แวร์สำหรับจัดโครงการ (Project management) ใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนโครงการเป็นหลัก ซึ่งตัวโปรแกรมสามารถช่วยให้ผู้ใช้งานมีการวางแผนงานที่ง่ายขึ้น รวมถึงความสามารถในการจัดการกิจกรรมงาน ( schedule ) ติดตามงาน วิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโครงการได้ง่ายขึ้น
      - ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี (Accounting) หัวใจของการทำงานทางด้านธุรกิจที่ขาดไม่ได้ก็คือ ส่วนงานบัญชีนั่นเอง โปรแกรมส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทหรือหน่วยงานสามารถที่จะบันทึกข้อมูลและแสดงรายงานทางการเงินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การออกงบกำไรขาดทุน งบดุล รวมถึงรายการการซื้อ ขาย เป็นต้น
       - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word processing) เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่ช่วยในการประมวลผลคำนั่นเอง ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ก็คือ สามารถจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้ เช่น ขนาดตัวอักษรใหญ่ เล็ก รูปแบบตัวอักษร เป็นต้น ปัจจุบันได้พัฒนาให้มีขีดความสามารถโดยการนำเอารูปภาพมาผนวกเข้ากับเอกสารได้ด้วย บางครั้งอาจจะเป็นรูปภาพที่มีอยู่แล้วที่เรียกว่า คลิปอาร์ต หรือภาพถ่ายอื่น ๆ ก็ได้
6.) การนำเอาซอฟต์แวร์ Case Tools มาช่วยสนับสนุนขั้นตอนของวงจรการพัฒนานั้น แต่ก็มีไม่มากนักที่ประสบความสำเร็จในท้องตลาดทั่วไปและในลักษณะเช่นเดียวกันก็มีการนำเอา CASE Tools ไปช่วยนักพัฒนาในส่วนของการจัดทำต้นแบบ และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับบุคคล นักศึกษาคิดว่า เป็นเพราะเหตุผลใดที่มีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้น
ตอบ   เพราะการใช้  I-CASE สามารถใช้ช่วยการพัฒนาระบบทุกส่วนของเคสทูล ช่วยสนับสนุน JAD ซึ่งกลุ่มของนักวิเคราะห์ระบบโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้ สามารถใช้งานร่วมกันใยการออกแบบระบบงานใหม่ได้อย่างดี

                  ******************************************************


คำถามย่อย

1.ข้อใดคือสัญญาณบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
    ก.สัญญาณบอกเหตุด้านผลปฎิบัติการด้านการขาย
    ข.สัญญาณบอกเหตุด้านการทำงานของพนักงาน
    ค.สัญญาณบอกเหตุด้านการจัดการ
    ง.ถูกทุกข้อ
2.บุคคลในข้อใดคือ นักเขียนและที่ปรึกษาทางการจัดการ
    ก.ปีเตอร์ เซนก์
    ข.คามิลอท
    ค.ไมเคล
    ง.เบ็ทส์
3.นักเขียนและที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ เรียกการคิดอย่างเป็นระบบว่าอะไร
    ก. กฎข้อที่ 2
    ข. กฎข้อที่ 3
    ค. กฎข้อที่ 4
    ง. กฎข้อที่ 5
4.การออกแบบและนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาไปใช้จริงประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ก.ขั้นตอนในการสนับสนุนระบบการขายใหม่
    ข.การฝึกอบรมพนักงานขายและพนักงานอื่นๆ
    ค.การปรับระบบเดิมสู่ระบบใหม่ และกำหนดตารางเวลาในการนำไปใช้จริง
    ง.ถูกทุกข้อ
5.การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบสามารถประเมินได้จากเกณฑ์หลักๆทั้งหมดกี่เกณฑ์
    ก. 2 เกณฑ์
    ข. 3 เกณฑ์
    ค. 4 เกณฑ์
    ง. 5 เกณฑ์
6 Mental Models คืออะไร
    ก.การควบคุมตนเอง
    ข.การไม่อคติและไม่ท้อแท้
    ค.การแบ่งปันวิสัยทัศน์ร่วมกัน
    ง.การเรียนรู้เป็นทีมงาน

7. การใช้แนวคิดเชิงระบบเพื่อนเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน เรียกว่า
ก. วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ข. การจัดการคิดอย่างเป็นระบบไปพร้อมกับกฎข้ออื่นๆ
ค. การศึกษาความเป็นไปได้
ง. การปรับปรุงการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
8. วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (Information Systems Development Cycle) มีกี่ขั้นตอน
ก. 1 ขั้นตอน
ข. 3 ขั้นตอน
ค. 5 ขั้นตอน
ง. 7 ขั้นตอน
9. ข้อใดคือ ข้อได้เปรียบ การประเมินแนวทางแก้ไขปัญหาแบบที่ 1 (Evaluation of Solution 1)
ก. สะดวกและมีคู่มือที่ง่ายแก่การใช้ของพนักงานขาย
ข. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องจ้างพนักงานมากขึ้น
ค. ค่าใช้จ่ายในการจัดการต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วทั้งในเรื่องการจัดการและการซ่อมบำรุง
ง. ผลปฏิบัติงานด้านการขายมีความทันสมัย ทันเวลา และผู้จัดการสามารถใช้งานได้ทันที
10. การออกแบบระบบประกอบด้วย 3 ปฏิบัติการที่สำคัญ คือข้อใด
ก. การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ 
ข. การออกแบบข้อมูล
ค. การออกแบบกระบวนการทำงาน
ง. ถูกทั้งข้อ กข และ ค

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

                บทที่ 2  พื้นฐานของระบบสารสนเทศ                              (Fundamentals of Information Systems)          แนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศพื้นฐาน  (Fundamental Information Systems Concept)         จากแนวคิดเรื่องระบบ (System Concept) มาเป็นรากฐานของระบบสารสนเทศ ที่แสดงให้เห็นถึงการนำระบบไปใช้ในองค์กรธุรกิจ รวมทั้งส่วนประกอบและกิจกรรมของระบบสารสนเทศ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดอื่นๆ ของเทคโนโลยี โปรแกรมประยุกต์ การพัฒนา และการจัดการระบบสารสนเทศ          การวิเคราะห์ American Management System          กรณีศึกษาของ American Management System จะช่วยให้ในการเรียนรู้เรื่องประโยชน์และข้อจำกัดของการใช้ระบบสารสนเทศในธุรกิจ          ศูนย์ความรู้ของ AMS.(The AMS knowledge Center) เป็นตัวแทนของระบบสารสนเทศแบบใหม่ เป็นระบบการจัดการองค์ความรู...
บทที่1 แนะนำระบบสารสนเทศในงานธุรกิจ  (Introduction to Information Systems in Business)                                                                                      แนะนำระบบสารสนเทศในงานธุรกิจ  (Why Study Information Systems?)      ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศ      เ พราะสารสนเทศและเทคโนโลยีกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จในธุรกิจและการจัดการองค์กรจึงมีการจัดสาขาด้านบริหารและด้านจัดการนี่จึงเกี่ยวกับระบบสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการ ประการ หรือนักธุรกิจมืออาชีพ ระบบสารสนเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเหมือนที่เข้าใจสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกัน     กรอบงานสำหรับผู้ใช้งาน     ( Framework for Business End User )      ขอบเขตของระบบสารสนเทศได้รวบรวมเทคโนโ...